อาหารผู้ป่วยโรคไต จัดเป็นทางเลือกที่มีความสำคัญกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหรือระยะสุดท้าย เพราะนี่คือปัจจัยมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ ซึ่งจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารประเภทที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยควบคู่ไปกับการบำบัดรักษานั่นเอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนลงไปด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคไตในระยะเริ่มต้นที่เพิ่งตรวจพบโรค หรือผู้คนทั่วไปยังสามารถหยิบเอาอาหารที่เรากำลังจะแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตได้เช่นกัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง แถมยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตได้อีกด้วย
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่
เช็คสุขภาพ วิธีสังเกตอาการของโรคไตเสื่อม ภาวะใดควรปรับมารับประทานอาหารผู้ป่วยโรคไต
ไต เป็นอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญในการกรองของเสียและโซเดียมออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ ในบุคคลทั่วไป หากไม่มีการควบคุมอาหาร จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงและสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อไตได้ ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หากไม่ควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคไตในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น รวมถึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น แถมยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ด้วย
แน่นอนว่าเมื่อเกิดความปกติกับไตก็ไม่ควรละเลยมองข้ามปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไป เพราะไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ และในระยะแรกผู้ป่วยหลายคนอาจไม่แสดงอาการที่เป็นสัญญาณมากนัก คนส่วนใหญ่จึงรู้ว่าป่วยเป็นไตวาย เมื่อร่างกายสะท้อนเอฟเฟคที่อยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว ดังนั้นแนะนำให้ทุกคนคอยสังเกตอาการของโรคไตอย่างสม่ำเสมอ โดยพิจารณาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเป็นอาการเริ่มต้นระยะแรกของโรค หากรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ร่วมกับอาการปวดหลังหรือบั้นท้ายบ่อย ๆ ทั้งยังมีอาการปวดศีรษะ จนถึงขั้นคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะผิดปกติ และตัวบวม ให้พบแพทย์เบื้องต้นเพื่ออาสาเหตุที่แท้จริงว่ามาจากโรคไตหรือไม่
อาหารผู้ป่วยโรคไตแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง แล้วแบบไหนที่สามารถรับประทานได้ วันนี้มีคำตอบ
อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
- อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง : อาหารรสเค็มจัด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม
- อาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูงหรือมีไขมันอิ่มตัวสูง : น้ำมันปาล์ม เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ไข่แดง กะทิ
- อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง : ผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมด เครื่องในสัตว์ ปลากรอบ ไข่แดง ขนมปัง ถั่ว และธัญพืชนานาชนิด
- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง : ผักใบเขียวหรือผักที่มีสีเข้ม มะเขือเทศ ทุเรียน กล้วย ลูกพรุน น้ำมะพร้าว
- อาหารหมักดอง : ปลาเค็ม ปลาร้า แหนม ไข่เค็ม ผักกาดดอง กิมจิ
- เนื้อสัตว์แปรรูป : แฮม เบคอน ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แหนม
- เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง : หมูสามชั้น คอหมูย่าง เอ็นหมู หนังไก่ทอด ข้อไก่ เอ็นวัว
- อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม : เบเกอรีหลากหลายสไตล์ พิซซ่า ขนมไทยบางชนิด
อาหารผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้
- โปรตีนคุณภาพ : เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง อกไก่ หมูสันใน เนื้อปลา ที่มี Omega-3 และมีไขมันต่ำ ไข่ขาว
- คาร์โบไฮเดรตที่มีฟอสฟอรัสต่ำ : ข้าวขัดสี เส้นหมี่ขาว เส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น ขนมปังที่ทำจากแป้งขัดสี
- ไขมันไม่อิ่มตัว : น้ำมันประกอบอาหารอย่างน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า
- ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ : ผักและผลไม้สีอ่อนอย่างเงาะ แอปเปิล สาลี่ สับปะรด ผักกาดขาว กะหล่ำปลี และอื่น ๆ อีกเพียบ
เฉลยเหตุผลที่ผู้ป่วยควรคุมอาหารการกิน พร้อมคำแนะนำดี ๆ สำหรับการเลือกทานอาหารผู้ป่วยโรคไต
เหตุผลที่อาหารผู้ป่วยโรคไตเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากไตของผู้ที่มีอาหารป่วยนั้นเสื่อมประสิทธิ์ในการทำงาน ทำให้การขับและกรองของเสียออกจากร่างกายได้แบบไม่เต็มที่ ส่งผลต่อเนื่องให้ของเสียเหล่านั้นยังคงคั่งค้างอยู่ภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่นำไปสู่อาการช็อค หมดสติได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงเพิ่ม และเลือกทานอาหารที่เหมาะกับไตซึ่งทางเราแนะนำไปนั้น จะช่วยควบคุมสารอาหารที่ร่างกายได้รับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ ช่วยให้ไตไม่จำเป็นต้องทำงานหนักจนเกินไป
นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ซึ่งควรน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน โดยไม่ลืมที่จะเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พวกอาหารกระป๋องหรืออาหารแปรรูปควรงดให้เด็ดขาด หรือหากไม่รู้ว่าควรทานเมนูไหนจึงจะเหมาะกับการควบคุมอาหารที่ดี เราขอแนะนำเมนูน่าสนใจที่ทานง่ายแถมได้ประโยชน์กำลังดีเช่น ข้าวผัดกระเทียม ทานคู่กับกับข้าวอย่างปลากะพงต้มกระชาย แกงเลียงปลากะพง แกงส้มชะอมไข่ขาว อกไก่ผัดขิง ผัดรวมมิตรอกไก่ไข่ขาว และหากเบื่อข้าวที่มีรสจืด ลองปรับรสชาติมาทานข้าวผัดต้มยำปลากะพงก็อร่อยไม่แพ้กัน เหนือสิ่งอื่นใด ต้องปรับให้เข้ากับคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนาการด้วย
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารเพิ่มเติมได้ที่ Foodspace