อบเชย หนึ่งในลิสต์รายชื่อเครื่องเทศครัวไทยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์มาพร้อมกับรสชาติหวานอมเผ็ดที่ปลายลิ้น จึงนิยมนำมาประกอบเมนูอาหารดาวหวานแสนอร่อยหลากหลายเมนู รวมถึงเครื่องดื่มก็จัดมาให้ครบทุกแบบ ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมเรื่องราวน่าสนใจของวัตถุดิบในเมนูอาหารไทยและอาหารนานาชาติชนิดนี้มาฝากกัน ทั้งข้อมูลทั่วไป ประโยชน์ สรรพคุณ และที่มาของการนำไปใช้เป็นเครื่องเทศในครัว ไปติดตามพร้อมกันได้เลย
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “อบเชย” เครื่องเทศที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน
อบเชย คือส่วนของเปลือกที่ได้มาจากพืชในตระกูล Cinnamomum ในวงศ์ Lauraceae เป็นที่มาของอีกหนึ่งชื่อเรียกที่คุ้นเคยนั่นก็คือ “ซินนามอน” ซึ่งเป็นชื่อในภาษาอังกฤษ ลักษณะของต้นเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-15 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตร
แต่ด้วยความนิยมในการนำมาประกอบอาหาร ในปัจจุบันจึงมีการปลูกเพื่อเน้นให้ได้มาซึ่งเปลือกลำต้นและเปลือกกิ่ง โดยจะตัดแต่งกิ่งเพื่อเพิ่มจำนวนกิ่งในแต่ละลำต้นให้มากขึ้น ต้นเหล่านี้จึงมีความสูงไม่เกิน 2-2.5 เมตร เท่านั้น
อบเชย เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น แนะนำให้ปลูกในดินร่วนซุยระบายน้ำดีและมีอินทรียวัตถุสูง มีความเชื่อว่าก่อนจะถูกนำไปปลูกตามพื้นที่ต่าง ๆ และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เครื่องเทศแห้งชนิดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง
ส่วนใหญ่ในปัจจุบันถูกผลิตและส่งออกโดยประเทศศรีลังกา จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ส่วนในประเทศไทยของเรานั้นจะแปรรูปเป็นแบบบดหรือป่น พบได้มากในจังหวัดกาญจนบุรีและพิษณุโลก นับว่าเป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปยังคู่ค้าหลักอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา
เปิดที่มาของอบเชย กลายเป็นวัตถุดิบยอมนิยมในครัวได้อย่างไร
ก่อนที่อบเชยจะกลายมาเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้ประกอบอาหาร ทั้งช่วยปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหารนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนมากมาย
โดยหลังจากการเก็บเกี่ยว เกษตรกรก็จะทำการลอกเปลือก ด้วยการขูดผิวเปลือกออกจากกิ่งที่ตัดมา แล้วนวดเปลือกเพื่อให้สามารถลอกออกจากเนื้อไม้ได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนนี้จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จากนั้นใช้มีดควั่นรอบกิ่ง เป็นช่วง ๆ ทั้งส่วนด้านบนและด้านด้านล่าง
ใช้ปลายมีดกรีดอีกครั้งตามยาวไล่มาจากด้านบนลงด้านล่าง ลำดับต่อไปให้ใช้มีดปลายมนแซะให้เนื้อไม้หลุดออกจากเปลือก ทำจนกว่าจะหมด และทั้งหมดนี้ควรทำให้เสร็จภายในวันเดียว เพราะหากทิ้งไว้ข้ามวันก็จะยิ่งทำให้ลอกได้ยากขึ้นนั่นเอง
เมื่อได้เปลือกไม้ขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้นำไปบ่มแล้วม้วนเป็นแท่ง ทำได้ง่าย ๆ เพียงนำเปลือกที่ลอกได้มาเป็นกำ ๆ ห่อด้วยกระสอบป่าน เป็นการเก็บความชื้น ทิ้งไว้ในร่ม 1 คืน เพื่อให้เปลือกเหี่ยวและหดตัว
จากนั้นนำเปลือกที่เป็นแผ่นสมบูรณ์มาเรียงซ้อนกัน ใช้ไม้คลึงม้วนให้เป็นแท่งตรง และนำไปผึ่งในที่ร่มที่มีการระบายอากาศที่ดี ใช้เวลาตากประมาณ 5 วัน โดยระหว่างนั้นให้นวดคลึงและกดให้แน่นจนกว่าจะแห้ง
เมื่อแห้งสนิทก็ให้ตากแดดอีกเพียงวันเดียว โดยไม่ลืมที่จะใช้กระสอบป่านคลุมเพื่อไม่ให้น้ำมันหอมระเหย ระเหยไปจนหมด ท้ายที่สุดก็จะได้ออกมาเป็นอบเชยที่มีสีน้ำน้ำตาลอ่อนหรือสีสนิม ความตรงและยาวสม่ำเสมอกัน
เหมาะแก่การนำมาประกอบเมนูอาหารไทยหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวอย่างมัสมั่น พะโล้ หรือผัดผงกะหรี่ หรือจะเป็นของหวานก็มีตั้งแต่ขนมเค้ก คุกกี้ ตลอดจนเครื่องดื่มบางชนิดก็ใช้ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม
บอกต่อประโยชน์ของอบเชยที่ควรรู้ พร้อมแนะนำสรรพคุณ
อบเชย เป็นเครื่องเทศที่มากได้ด้วยสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย ทั้งยังมีประโยชน์หลากหลายด้าน เริ่มกันที่สารโพลีฟีนอลที่มีในปริมาณมาก มีส่วนช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด นำไปสู่การใช้ในการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานตามตำรับยาจีน แถมยังช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้ดีขึ้นได้ด้วย โดยจะเข้าไปลดระดับคอเลสเตอรอล นั่นเอง
ยังไม่พอแต่เพียงเท่านี้ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ถูกนำไปใช้ในวงการแพทย์แผนจีนอย่างแพร่หลาย จึงมีการศึกษาสรรพคุณออกมาเป็นงานวิจัยมากมายพบว่า นอกจากจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ดีแล้ว ยังสามารถนำมาใช้รักษาและป้องกันเซลล์สมองเสื่อมได้อีกด้วย
มีสารที่ช่วยรักษาอาการอักเสบทางผิวหนังรวมถึงอวัยวะภายใน นอกจากนี้สารสกัดจากเครื่องเทศชนิดนี้ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกมะเร็งได้ ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเปลือก ไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอมอย่างเดียว ยังใช้สำหรับแก้อาหารปวดกระเพาะอาหารและลำไส้ได้เช่นกัน
มาต่อกันที่ประโยชน์ของอบเชยในด้านอื่น ๆ กันบ้าง อย่างที่ทรายกันดีอยู่แล้วว่าใช้ในการทำอาหารและเบเกอรีได้หลากหลายเมนู โดยถูกนำมาใช้ทั้งในรูปแบบก้าน ผงจากการบด รวมถึงทำเป็นน้ำตาล
ท้ายที่สุด เครื่องเทศชนิดนี้ยังมีความสำคัญในฐานะพืชเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งการปลูกเพื่อใช้ในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย เรียกได้ว่าเป็นพืชที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอีกชนิดหนึ่ง
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารเพิ่มเติมได้ที่ Foodspace